วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ความหมายของโปรโตคอล


ความหมายของโปรโตคอล
        โปรโตคอล ( Protocol) หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดี ข้อเสีย และใช้ในโอกาสหรือสถานการณ์แตกต่างกันไป คล้ายๆ กับภาษามนุษย์ที่มีทั้งภาษาไทย จีน ฝรั่ง หรือภาษาใบ้ ภาษามือ หรือจะใช้วิธียักคิ้วหลิ่วตาเพื่อส่งสัญญาณก็จัดเป็นภาษาได้เหมือนกัน ซึ่งจะสื่อสารกันรู้เรื่องได้จะต้องใช้ภาษาเดียวกัน ในบางกรณีถ้าคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสื่อสารกันคนละภาษากันและต้องการนำมาเชื่อมต่อกัน จะต้องมีตัวกลางในการแปลงโปรโตคอลกลับไปกลับมาซึ่งนิยมเรียกว่า Gateway ถ้าเทียบกับภาษามนุษย์ก็คือ ล่าม ซึ่งมีอยู่ทั้งที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์แยกต่างหากสำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ หรือาจะเป็นโปรแกรมหรือไดร์ฟเวอร์ที่สามารถติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ได้เลย
การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้นั้น จะต้องอาศัยกลไกหลายๆ อย่างร่วมกันทำงานต่างหน้าที่กัน และเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเข้าด้วยกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การเชื่อมต่อมีความแตกต่างระหว่างระบบและอุปกรณ์หรือเป็นผู้ผลิตคนละรายกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้การสร้างเครือข่ายเป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากขาดมาตรฐานกลางที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ
จึงได้เกิดหน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากลขึ้นคือ International Standards Organization และทำการกำหนดโครงสร้างทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารข้อมูลและเป็นระบบเปิด เพื่อให้ผู้ผลิตต่างๆ สามารถแยกผลิตในส่วนที่ตัวเองถนัด แต่สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างทีแน่นอน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อน ระบบเครือข่ายส่วนมากจึงแยกการทำงานออกเป็นชั้นๆ ( layer) โดยกำหนดหน้าที่ในแต่ละชั้นไว้อย่างชัดเจน แบบจำลองสำหรับอ้างอิงแบบ OSI (Open System Interconnection Reference Model) หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่าOSI Reference Model ของ ISO เป็นแบบจำลองที่ถูกเสนอและพัฒนาโดยองค์กร International Standard Organization (ISO) โดยจะบรรยายถึงโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายในอุดมคติ ซึ่งระบบเครือข่ายที่เป็นไปตามสถาปัตยกรรมนี้จะเป็นระบบเครือข่ายแบบเปิด และอุปกรณ์ทางเครือข่ายจะสามารถติดต่อกันได้โดยไม่ขึ้นกับว่าเป็นอุปกรณ์ของผู้ขายรายใด
แบนด์วิดท์ (อังกฤษ: bandwidth)
           แบนด์วิดท์ (อังกฤษ: bandwidth) เป็นคำที่ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps(bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps,Bandwidth ของสายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbpsเป็นต้น
แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทความมารู้จักก่อนว่าอะไรคือ Bandwidth และ Latency ความหมาย Bandwidth คือ ความกว้างของช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูล ส่วน Latency คือ เวลาที่ใช้ไปในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำ เมื่อเรารู้ความหมายกันแล้วคราวนี้เรามารู้จักถึงหลักการต่างๆ ของ Bandwidth และ Latency
ในการพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบบัสหลายคนมักจะนึกถึง Bus Bandwidth (Bandwidth ก็คือความกว้างของเส้นทางในการส่งข้อมูล ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับเลนถนน ยิ่งมีเลนกว้างเท่าไรรถยนต์ซึ่งเปรียบได้กับข้อมูลก็สามารถวิ่งได้สะดวกมากขึ้นเท่านั้น) ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่รับ-ส่งบนระบบบัส Bus Bandwidth ด้วยปริมาณจำนวนข้อมูลของเลข single number (0 หรือ 1) ที่ระบบบัสสามารถรองรับได้ แต่ปริมาณข้อมูลของเลข single number อาจแปรผันได้ตามเวลา เราจึงพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทาง Bus Bandwidth ด้วย Peak bandwidth Bus หรือ ความกว้างสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลของบัส ซึ่งวัดด้วยจำนวนข้อมูลสูงสุดที่ รับ-ส่งกันระหว่างซีพียูและแรมภายในหนึ่งคาบเวล
จากความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูจากรูปที่ 1 ถ้าเรามาคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียู ที่สัญญาณนาฬิกา 100 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบของสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
8 bytes * 100MHz = 800 MB/s                                                                                                                            
และถ้าหากเราคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูที่ 133 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
8 bytes * 133MHz = 1064 MB/s
ซึ่งตัวเลข Bandwidth ที่ได้นี้เป็นพียงตัวเลขทางทฤษฎีที่บอกถึงปริมาณของข้อมูลที่เข้าสู่ซีพียูในแต่ละวินาที ในความเป็นจริง Bandwidth ของระบบจริงอาจมีค่าน้อยกว่าที่คำนวณเพียงเล็กน้อย

Bandwidth ในทางปฏิบัติ
ระบบบัสที่ผ่านมาจะมีลักษณะการส่งผ่านข้อมูลแบบทางเดียว จึงทำให้ไม่สามารถรับและส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน จึงต้องผลัดกันส่งและรับข้อมูลทำให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลช้า เปรียบเทียบระบบบัสได้กับการสื่อสารผ่านทางวิทยุรับส่งโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพูดอีกฝ่ายจะต้องเป็นผู้รับฟัง เนื่องจากต้องผลัดกันรับส่งข้อมูลดังนั้นเมื่อซีพียูต้องการร้องข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก (RAM) ซีพียูจะต้องร้องขอผ่านทาง Bus Control จากนั้น Bus Control จะร้องขอข้อมูลมาที่หน่วยความจำหลัก (RAM) เมื่อค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการได้แล้ว หน่วยความจำหลักจะส่งต่อข้อมูลให้ Bus Control กลับไปให้ซีพียู โดยทั้งหมดนี้กระทำบนบัสเดียวกัน ถ้าพิจารณาเวลาที่สูญเสียไปจากการร้องขอข้อมูลจาก Bus Control และที่ต้องเสียเวลารอหน่วยความจำหลักค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการแล้วจึงส่งข้อมูลที่ต้องการกลับไปสู่ Bus Control และส่งกลับไปสู่ซีพียูได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็น Delay Time ที่มีผลต่อค่า Read Latency โดยที่ Read Latency หมายถึง เวลาที่ใช้ระหว่างการร้องขอข้อมูลจากซีพียูผ่านทาง Frontside Bus (FSB)
Domain Name
Domain Name คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้ ชื่อ Domain Name จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก ไม่แตกต่างกันเพราะ ระบบอินเตอร์เน็ตจะรับรู้ตัวอักษรเป็นตัวเล็กทั้งหมด เช่น ITTradefair.com และ ittradefair.com ถือว่าเป็นชื่อเดียวกัน ส่วนประกอบใหญ่ๆ สามส่วนคือ ชื่อเครื่อง. เช่น DomainAtCost.com ,ThaiCompany.net ฯลฯ ในปัจจุบันได้มีการจดชื่อโดเมนถึงกว่า 30 ล้านชื่อทั่วโลกและ ชื่อโดเมนก็มักจะถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายการค้าของ Website ต่างๆ ด้วยโดยชื่อโดเมนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
 ส่วนของชื่อ ซึ่งอาจเป็นชื่อของบุคคล นิติบุคคล องค์กร เครื่องหมายการค้า หรืออื่นๆ ที่ต้องการจะสื่อให้เป็นตัวแทนของ Website นั้นๆ เช่น DomainAtCost, ThaiCompany ฯลฯ
 ลักษณะการประกอบการของ Website นั้นๆ เช่น .com, .net ฯลฯ (คล้ายๆ กับคำแสดงนิติฐานะของนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด กระทรวง สมาคม องค์การ ฯลฯ กรุณาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในข้อ 3)
เนื่องจากชื่อโดเมนจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการชี้ไปยัง Website ดังนั้นจึงไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้ (ThaiCompany.net และ ThaiCompany.com ถือว่าเป็นคนละชื่อกัน เนื่องจากจดอยู่ภายใต้ลักษณะการประกอบการที่ต่างกัน แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจประกอบการในลักษณะเดียวกัน เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ ควบคุม)
Domain Name ทำงานอย่างไร
    ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะใช้กลุ่มตัวเลข 4 กลุ่มที่คั่นด้วยจุด (ตัวเลขในแต่ละกลุ่มจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255) เช่น 203.33.192.255 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ IP Address ในการระบุตำแหน่งของ Website ต่างๆ เพื่อให้รู้ว่าอยู่บนเครื่องใดและอยู่ในเครือข่ายใด แต่เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร ซึ่งก็คือ Domain Name ในการอ้างอิงแทน โดยจะอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และ Domain name เข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ของท่าน ไม่ว่าจะทราบ IP Address หรือ Domain name เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด
Domain Name ที่ลงท้ายด้วย .com และ .net หรือ .net และ .net.th แตกต่างกันอย่างไร
    ระบบของ Domain Name จะมีการจัดแบ่งออกเป็นหลาย Level โดยเริ่มตั้งแต่ Top Level ซึ่งประกอบด้วย
Generic Domain (gTLD) ซึ่งได้แก่ Domain Name ที่ลงท้ายด้วย .com (Commercial), .net (Networking), .org (Non-Commercial Organization), .edu (Education), .gov (Government), .int (International), .mil (Military).com จะใช้กับองค์กรที่แสวงหาผลกำไร.org จะใช้กับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร.net จะใช้กับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Internet
Country Code Domain (ccTLD) ซึ่งเป็น Domain Name ที่กันไว้สำหรับการใช้งานของประเทศต่างๆ ได้แก่ .th (ประเทศไทย), -.us (สหรัฐอเมริกา), .uk (อังกฤษ) และอื่นๆ
.co.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่แสวงหาผลกำไร
.or.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประทศไทยที่ไม่แสวงหาผลกำไร
.net.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Internet
.in.th จะใช้กับบุคคลหรือองค์กรใดๆก็ได้ในประเทศไทย
ดังนั้น .com และ .net จึงถือได้ว่าเป็น Domain Name ที่อยู่ในระดับเดียวกัน แต่จะต่างกันที่ลักษณะการประกอบการ กล่าวคือ .com เป็น Website ที่ประกอบการเชิงพาณิชย์ เช่น การขายสินค้าหรือให้บริการ ในขณะที่ .net จะเป็น Website ที่ให้บริการทางด้านอินเตอร์เน็ต เช่น การเชื่อมต่อหรือการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย ส่วน .net.th จะถือเป็น Domain Name ในระดับSecondary Level (SLD) ที่แยกมาจาก Top Level (TLD) หรือ .th อีกทีหนึ่ง ซึ่งจะหมายถึงWebsite ที่ให้บริการทางด้านอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย อนึ่ง การแบ่ง Level ของ Domain Name สามารถแบ่งย่อยลงมาได้เรื่อยๆ ตามหลักการของ DNS (Domain Name System) เช่นNgo.ThaiCompany.net ก็จะหมายถึงกลุ่ม NGO ที่จด Domain Name อยู่ภายใต้ThaiCompany.net เป็นต้น
แหล่งจดทะเบียน
    ท่านสามารถที่จะจด Domain Name กับผู้ให้บริการรับจดรายใดก็ได้ทั่วโลก ทั้งนี้การจะจดอย่างไรจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน เช่น หากต้องการให้ Website มีภาพลักษณ์ที่เป็นสากล ก็ควรจดในลักษณะ .com, .net หรือ .org แต่หากว่าต้องการสื่อว่าเป็น Website ที่ให้บริการในประเทศไทย ก็ควรจดเป็น .co.th, .net.th, .or.th หรืออื่นๆ ซึ่งกรณีนี้จะต้องทำการจดกับTHNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลการจด Domain Name เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้น นอกจากนี้โดเมนเนมของบางประเทศ เช่น
.at (Austria), .cc (Cocos Islands), .to (Tonga), .tv (Tuvalu) และอื่นๆ ก็เป็นที่นิยม เนื่องจากสามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะอย่างได้ แต่เนื่องจากเป็นของประเทศ ดังนั้นการจดก็จะต้องขึ้นกับเงื่อนไขที่กำหนดโดย Registry ของประเทศนั้นๆท่านสามารถจะจดโดเมนเองได้ที่http://www.we.co.th ในกรณีที่ต้องการจดโดเมนของอเมริกา หรือ http://www.thnic.net/ ในกรณีที่ต้องการจดโดเมนของไทย
ระยะเวลาในการเป็นเจ้าของ Domain Name
   เนื่องจาก Domain Name ถือเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ดังนั้นกรรมสิทธิ์ หรือความเป็นเจ้าของจะคงอยู่ตราบเท่าระยะเวลาของสัญญาที่ทำไว้กับผู้ให้บริการรับจดแต่ละราย โดยสามารถทำการต่ออายุสัญญาเป็นงวดๆ ไป (สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ Domain Name จะเป็นของท่าน โดยข้อมูลทั้งหมดที่ลงทะเบียนไว้จะถูกเก็บอยู่ในระบบฐานข้อมูลของ NSI ซึ่งเป็นผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลหลักในปัจจุบัน
ข้อดีของการจดทะเบียนหลายปี
ในการจดชื่อโดเมน ระยะเวลาของสัญญาจะขึ้นกับดุลยพินิจและความพร้อมของท่าน สำหรับการจดแบบหลายปี (ท่านสามารถเลือกจดได้ตั้งแต่ 1-10 ปี) เป็นการรองรับความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาค่าบริการและอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินในอนาคต เนื่องจากค่าบริการของท่านจะถูกจ่ายครั้งเดียวในตอนเริ่มต้นด้วยอัตราค่าบริการในขณะนั้น ดังนั้นจึงเหมือนกับว่าในปีต่อๆ ไปท่านก็ยังคงสามารถจ่ายค่าบริการด้วยอัตราเดิมแม้ว่าค่าบริการจะปรับตัวสูงขึ้น (เรายังคงคาดหมายว่าแนวโน้มราคาค่าบริการของตลาดโดยรวมในอนาคตจะปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดีเนื่องจากในอนาคตการออกกฎหมายมาควบคุมการจดทะเบียนชื่อโดเมนคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ชื่อโดเมนก็ยังถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด) ดังนั้นการจดชื่อโดเมนแบบหลายปีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่น่าจะมองข้าม เพราะนอกจากจะช่วยท่านประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วยังช่วยให้ท่านไม่ต้องเสียเวลาในการต่ออายุสัญญาทุกๆ ปีอีกด้วย (หากท่านจดชื่อโดเมนกับเราไม่ว่าจะกี่ปีก็ตาม อายุสัญญาของชื่อโดเมนของท่านก็จะเป็นไปตามนั้น จะไม่มีการนำเงินมาหมุนใช้ก่อนแล้วนำไปจดใหม่เป็นรายปีในภายหลัง
การเตรียมการเพื่อจดชื่อโดเมน
    ชื่อโดเมนที่ต้องการจดทะเบียน เลือกไว้สัก 3 - 4 ชื่อ ป้องกันชื่อไปซ้ำกับชื่อที่ถูกจดไว้แล้ว
ผู้ให้บริการจดโดเมน ที่ต้องการไปจะจดกี่ปี ค่าบริการเท่าไร
เจ้าของชื่อโดเมน (Registrant) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ถ้าหากเป็นองค์กร ให้ใส่ชื่อองค์กรผู้ดูแลชื่อโดเมน (Administrative contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ผู้ติดต่อทางเทคนิคโดเมน (Technical contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจดโดเมน (Billing contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์
การจดชื่อโดเมนไม่ใช่เรื่องยาก หลังจากเลือกได้แล้วว่า จะจดทะเบียนกับผู้รับจดทะเบียนรายไหน ก็เปิดเว็บไซต์ไปจดได้เลย อย่างไรก็ตาม อยากแนะนำให้ใช้วิธีการเตรียมการหลายๆอย่างไว้ก่อน เพื่อให้การจดทะเบียนทำได้รวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ พร้อมทั้งสอดคล้องกับความต้องการมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น